วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2550

โลกของเด็ก


ชีวิตเด็กๆ มีความสำคัญตั้งแต่แรกเกิด
เรามารู้วิธีการส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อยกันเถอะ

1. การเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย ในช่วงนี้ เด็กควรจะทานน้ำนมแม่ จะดีที่สุด เพราะทารกทั่วไปจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณเดือนละ 1 กิโลกรัม ในช่วงสองเดือนแรก และจะเพิ่มขึ้นเดือนละ 0.5 กิโลกรัมในเดือนต่อๆ ไป ควรสังเกตว่า ลูกได้รับน้ำนมเพียงพอหรือไม่ โดยสังเกตจากน้ำหนักตัวของเด็ก ว่าขึ้นตามเกณฑ์หรือไม่ การปัสสาวะ 3-5 ครั้ง/วัน ความยาวของตัวเด็กเพิ่มประมาณ 3.5 ซม./เดือน และสังเกตดูว่า เด็กมีอารมณ์ดี สดชื่น แจ่มใส ประกอบด้วยค่ะ สำหรับ คุณแม่ที่ไม่สามารถให้นมลูกได้ด้วยตัวเอง ควร เลือกนมที่มีส่วนประกอบ ใกล้เคียงน้ำนมแม่มากที่สุดค่ะ

2. การเสริมพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว เนื่องจากเด็กในช่วงนี้ จะพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอ เช่นการผงกศีรษะ การชันคอ การหันซ้ายขวาในท่าการนอนคว่ำ ดังนั้น ควรส่งเสริมพัฒนาการ เช่น การอุ้มพาดบ่า ในท่าคว่ำหน้า ทำให้เพิ่มพัฒนาการของ กล้ามเนื้อคอและหลัง การยื่นหน้าของคุณแม่คุณพ่อเข้าไปใกล้ๆ ระยะประมาณ 1 ฟุต เมื่อเด็กนอนคว่ำ พร้อมส่งเสียงพูดคุย และขยับใบหน้าไปมา ซ้าย ขวา บน ล่าง เพื่อให้ลูกน้อยของเรามองตาม หรือผงกศีรษะ การให้ลูกนอนคว่ำ ไม่ควรหนุนหมอน และเลือกที่นอนที่ไม่นุ่มจนเกินไป การแขวนโมบายสีสันสดใส หรือวางของเล่นที่มีขนาดใหญ่ ในระยะ 8 - 14 นิ้ว หรือขยับไปมา ก็จะทำให้ลูกน้อยของคุณสามารถมองตาม และขยับกล้ามเนื้อ เพื่อความแข็งแรงได้เช่นกัน

3. การส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา จากเดิมที่มีการส่งเสียงร้องเพียงอย่างเดียว ในช่วงแรก ทารกจะสามารถ ส่งเสียงอ้อแอ้ ตอบโต้การพูดคุยของ คุณพ่อ คุณแม่ ได้ ดังนั้นจึงควร ส่งเสริมด้วย การพูดคุยกับลูกบ่อยๆ ในขณะที่ทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ เช่น "หิวหรือยังจ๊ะ" "ไปอาบน้ำกันนะจ๊ะ" "ได้เวลาทานนมแล้วจ้า" เป็นต้น

4. การส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม ทารกจะมีพัฒนาการจากเดิมที่ไม่มองหน้า ไม่จ้องหน้า หรือ สบตาคุณพ่อคุณแม่ โดยจะเริ่มจ้องมองหน้า สบตา หรือยิ้มตอบได้ รวมถึงการส่งเสียงอ้อแอ้ ในขณะที่มีการพูดคุย หรือร่วมกิจกรรมต่างๆ ด้วยกัน โดยจะใช้เสียงร้อง เพื่อบ่งบอกความต้องการด้วย เช่น หิว, ปวด, ไม่สบายตัว, ง่วง เป็นต้น ดังนั้น ควรพูดคุย ส่งเสียง หรือ เล่นกับลูก โดยยื่นหน้าเข้าไปในระยะ 8 - 14 นิ้ว ขณะที่ทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน เพื่อให้เด็กทารกมีปฎิกิริยาตอบโต้ และส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมได้มากขึ้น

อ้างอิงจาก http://www.thaikind.com/

พัฒนาการเด็ก 6 - 9 เดือน

การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 6 - 9 เดือน

เด็กในวัยนี้ จะมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวลำตัว การใช้มือ อะไรๆ ก็ดูน่าตื่นเต้นสำหรับลูกน้อยไปหมดค่ะ ดังนั้น การส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ควรปฏิบัติดังนี้ค่ะ

1. การส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย ในช่วงนี้ เด็กจะยังคงทานน้ำนมเป็นอาหารหลัก จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ประมาณเดือนละ 0.5 กิโลกรัม ความยาวของตัวเด็ก เพิ่มประมาณ 1.5 ซม./เดือน ควรให้อาหารเสริมตามวัย ทดแทนนม 1 มื้อและเพิ่มเป็น 2 มื้อเมื่ออายุ 7 เดือน

2. การส่งเสริมพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว เด็กในช่วงนี้ จะนั่งเองได้ชั่วครู่ ยืนได้ถ้ามีคนพยุง บางคนจะเริ่มคลานเมื่ออายุ 8 เดือน ดังนั้น ควรส่งเสริมพัฒนาการ เช่น การเล่นกับลูกโดยจับลูกยืนแล้วโยกไปมาตามจังหวะ เพราะเด็กช่วงนี้จะชอบเคลื่อนไหวเป็นพิเศษ อาจกระตุ้นให้ลูกเคลื่อนไหวโดยใช้ของเล่น หรือชวนลูกเล่นขี่ม้า บิน เหาะ เด็กจะชอบมากค่ะ นอกจากนี้ควรให้ลูกหัดดื่มนมจากถ้วยเมื่ออายุ 9 เดือน ให้ลูกหยิบจับของเล่นที่มีลักษณะหลากหลาย เช่น มีเสียง ของเล่นผ้า ของเล่นไม้ เพื่อช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อของลูกค่ะ

3. การส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา เด็กจะสามารถส่งเสียงซ้ำๆกันได้ เช่น หม่ำๆ ปาปา ดังนั้นจึงควร ส่งเสริมด้วยการพูดคุยกับลูก ในขณะที่ทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ อ่านหนังสือให้ลูกฟัง

4. การส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม เด็กจะแยกแยะคนแปลกหน้าได้ เป็นนักสำรวจ ชอบค้นหาสิ่งของที่ซ่อนไว้ และจะหยุดชั่วขณะ เมื่อได้ยิน คำว่า "ไม่" หรือ "อย่า" เข้าใจสีหน้าท่าทางทีเห็นเป็นประจำ ดังนั้นพ่อแม่ควรจะฝึกให้ลูกเล่นกับคนอื่นบ้าง ซ่อนของแล้วให้ลูกหา พูดว่า "อย่า" หรือ "ไม่" พร้อมกับส่ายหน้าเพื่อให้ลูกเข้าใจท่าทาง พูดคุยกับลูกในสิ่งที่ลูกกำลังสนใจ

พัฒนาการเด็ก 9 - 12 เดือน

ตอนนี้ลูกน้อยจะรู้สึกว่าตัวเองโตขึ้นแล้ว เริ่มมีความคิดเป็นของตนเอง และรู้จักการปฏิเสธมากขึ้น การส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ควรปฏิบัติดังนี้ค่ะ

1. การส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย ในช่วงนี้ เด็กจะยังคงทาน น้ำนมเป็นอาหารหลัก ให้อาหารเสริมตามวัย 2 มื้อ จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ประมาณเดือนละ 0.5 กิโลกรัม ความยาว เพิ่มประมาณ 1.2 ซม./เดือน

2. การส่งเสริมพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว เด็กในช่วงนี้ จะเริ่มตั้งไข่ และเกาะเดินได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมพัฒนาการ โดยการจูงมือลูกเดินเล่นบ่อยๆ วางของเล่นไว้บนโซฟาให้ลูกเกาะเดินไปหยิบ หรืออาจจะให้ลูกหัดเดินเข้าหาในระยะใกล้ๆ ค่ะ ส่วนพัฒนาการการใช้มือเด็กจะเริ่มใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้จับของชิ้นเล็กๆ ได้ ใช้มือข้างหนึ่งถือของส่วนอีกมือทำอย่างอื่นได้ ควรส่งเสริมพัฒนาการโดยหัดให้ลูกจับช้อนส้อมอมเอง

3. การส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา เด็กจะสามารถ พูดและเข้าใจคำสั้นๆได้เมื่ออายุประมาณ 1ขวบ และเข้าใจการสื่อสารด้วยท่าทาง เช่น ส่งจูบ ชี้เมื่อต้องการ ส่ายหัวเมื่อไม่ต้องการเป็นต้น ดังนั้นจึงควร ส่งเสริม ด้วยการพูดคุย กับลูกบ่อยๆ และชี้ชวนให้ดูสิ่งต่างๆรอบตัว

4. การส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม เด็กจะแสดงอาการพอใจด้วยการตบมือ เลียนแบบสีหน้า ท่าทางได้ ควรส่งเสริมพัมนาการด้วยการเล่นต่างๆ เช่น จ๊ะเอ๋ หรือซ่อนของ ให้ลูกเล่นกับเด็กอื่น หรือพบปะผู้ใหญ่ที่ไม่คุ้นเคยบ้าง

วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2550

การส่งเสริมพัฒนาการความคิดของเด็ก

คุณพ่อคุณแม่ต้องปรับวิธีการคิดและคำพูดของตัวเอง โดยเริ่มจากการพยายามรับรู้ถึงความคิดและคำพูดเป็นเชิงบวกเพราะคำพูดหรือการกระทำทุกการกระทำจะมีผลต่อการรับรู้ในส่วนจิตนอกสำนึกของเขา แม้ว่าคำพูดนั้นจะเกิดขึ้นอย่างไม่เจตนาร้ายก็ตาม จิตนอกสำนึกของเด็กนั้นไม่สามารถแยกแยอะได้ว่าจงใจทำหรือจงใจพูดให้ได้ยินหรือไม่



เรามาช่วยกันส่งเสริมความคิดและความคิดสร้างสรรค์ของลูกกันเถอะ
สิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจ คือ ธรรมชาติของลูกเรื่องความคิดสร้างสรรค์ก่อนว่า เป็นเหมือนต้นไม้ สิ่งที่ต้นไม้ต้องการคือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับต้นไม้ ได้แก่ ดิน, น้ำ, อากาศ ,แสง และ อุณหภูมิที่เหมาะสมให้แก่ต้นไม้ ความคิดสร้างสรรค์คือการแสดงออกที่นำศักยภาพสมองที่มีอยู่อย่างมหาศาล มาใช้ในการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ การเล่นของเด็กๆ ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ (การเล่นสรรค์สร้าง Constructive Play) อย่างเช่นการ เล่นน้ำ เล่นทราย และเด็กๆ ก็ไม่เคยเบื่อเพราะเด็กได้คิด ได้เลือก ได้ลงมือทำ ได้ค้นพบสิ่งแปลดใหม่ด้วยตัวเอง โดยเกิดการค้นพบและเรียนรู้จากการเล่นผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ยิ่งเล่นมากเท่าไรก็พบความแปลกใหม่ รวมทั้งพบวิธีเล่นมากมายหลายแบบ จนเกิดเป็นวงจรแห่งการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ กิจกรรมศิลปะและภาษาแนวใหม่ ที่เปิดกว้างให้เด็กๆ ได้ทำกิจกรรมอย่างอิสระ ก็ถีอว่าเป็นการเล่นสร้างสรรค์

วิธีการกระตุ้นพัฒนาการเด็กอายุ 3 เดือน

หลังจากที่ผู้ปกครองได้ทราบพัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงอายุแล้วนั้น เรามาพบกับวิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัยด้วย เพื่อจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการลูกหรือบุตรหลานให้เร็วขึ้น


เด็กอายุ 3 เดือน

วิธีการกระตุ้นท่านอนเพื่อชันคอ
- จากท่านอนคว่ำ โดยการจับเด็กให้นอนคว่ำ

- พ่อ - แม่ เคลื่อนวัตถุ หรือของเล่นที่มีสีสันสดๆ เช่น สีแดง, สีเหลือง กระตุ้นให้เด็กดูก่อน จากนั้นเคลื่อนของเล่นไปด้านข้างซ้าย, ขวา เคลื่อนขึ้น, ลง เพื่อให้เด็กมองตามของเล่น

- พ่อ - แม่ ใช้ของเล่นที่มีเสียง หรือกระดิ่งถือไว้ในระดับสายตา กระตุ้นให้เด็กมองก่อน แล้วเคลื่อนของเล่นไปด้านข้างซ้าย, ขวา จากแนวกลางลำตัวเคลื่อนขึ้นลงเพื่อให้เด็กมองตามของเล่น

- พ่อ - แม่ เล่นกับเด็ก โดยยื่นหน้าในระดับสายตาของเด็ก ให้เด็กมองเห็นแล้วเคลื่อนศีระษะไปด้านข้างซ้าย,ขวา จากแนวกลางลำตัวขึ้น, ลง เพื่อให้เด็กมองตามของเล่น

- พ่อ - แม่ ตบบริเวณหน้าผากเด็กเบาๆ พร้อมพูดคุยเรียกชื่อเด็กระดับที่สูงกว่าศีรษะเด็ก เพื่อให้เด็กยกศีรษะขึ้น จากท่าศีรษะตั้งตรง

- พ่อ - แม่ อุ้มเด็กไว้บนตัก ประคองศีรษะด้านหลังของเด็กก่อน แล้วลดการประคองที่ศีรษะ เพื่อให้เด็กควบคุมศีรษะของตนเอง

- หากเด็กสามารถควบคุมศีรษะตนเองได้บ้าง พ่อ - แม่ โน้มศีรษะและลำตัวเด็กไปด้านหน้า, หลัง ข้างซ้าย, ขวา จากกลางลำตัวอย่างช้าๆ เพื่อให้เด็กออกแรงต้านศีรษะไม่ให้ล้ม
วิธีการกระตุ้น การมองไปที่สิ่งของแล้วจ้องชั่วครู่

- ใช้ไฟฉายขนาดเล็กส่องที่บริเวณใบหน้า เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจ จากนั้นเคลื่อนลำแสดงไปทิศทางต่างๆ ซ้าย, ขวา จากแนวกลางลำตัว และขึ้น, ลง

- ห้อยวัตถุที่มีสีสันสดๆ หรือมีเสียงเหนือเตียงเด็ก

- พ่อ - แม่ แกว่งวัตถุที่มีสีสันสดๆ หรือเสียงผ่านหน้าเด็ก เพื่อให้เด็กมองตาม หากเด็กไม่มองตาม อาจจะจับศีรษะของเด็กให้มองตามระยะแรกก่อนจึงลดการจับศีรษะ

- พ่อ - แม่ เล่นกับเด็ก ระยะแรกให้เห็น มองเห็น (อยู่ในระดับสายตาของเด็ก) จากนั้นพ่อ - แม่ เคลื่อนศีรษะใบหน้าของตนเองไปทิศทางต่างๆ เพื่อให้เด็กมองตาม

- หากเด็กมีปัญหาไม่มองตาม จะใช้เวลาป้อนอาหารเด็ก เรียกชื่อเด็ก ให้มองอาหารก่อนให้เด็กรับประทาน
วิธีการกระตุ้นให้เด็กแสดงท่าทางสนใจเมื่อได้ยินเสียง

- พ่อ - แม่ เรียกชื่อเด็ก เพื่อให้เด็กหันตามเสียงเรียกของพ่อ - แม่

- พ่อ - แม่ นำของเล่นที่เป็นเสียง เขย่าเบาๆ ที่ข้างหูของเด็ก เพื่อให้เด็กหันศีรษะตามเสียงที่ได้ยิน

- พ่อ - แม่ ทำเสียงต่างๆ หลายๆ อย่างเช่น เสียงสั่นกระดิ่ง, ตบมือ, เรียกชื่อเด็กเืพื่อให้เด็กหันตามเสียง หากเด็กยังไม่หันตามเสียง จับศีรษะเด็กเบาๆ ให้หันตามเสียง จนกระทั่งเด็กสามารถหันตามเสียงได้ จึงลดการจับศีรษะเด็ก

- หากเด็กมีปัญหาไม่หันตามเสียง ให้ฝึกก่อนรับประทานอาหาร โดยพ่อ - แม่ เรียกชื่อเด็ก พร้อมจับศีรษะเด็กเบาๆ ให้หันตามเสียง จากนั้นจึงให้อาหารเด็ก หากเด็กทำได้ ลดการจับศีระษะของเด็กหันตามเสียง เพียงการเรียกชื่อเด็กเท่านั้น


วิธีการกระตุ้นการทำเสียงอ้อแอ้

- พ่อ - แม่ ผู้ปกครองพูดคุยกับเด็กบ่อยๆ เสมือนว่าเด็กรู้ภาษา เป็นการกระตุ้นการรับรู้การได้ยินให้แก่เด็ก

- พ่อ - แม่ จัดหาของเล่นที่มีเสียงแตกต่างกันให้เด็กเล่น

- หากเด็กอยู่ในสภาพที่สบายใน พ่อ - แม่ ผู้ปกครองเล่นกับเด็กให้เกิดการจ้องมองผู้ใหญ่ออกเสียง เช่นเสียง ออ จะเกิดการห่อปากหากเด้กเริ่มเคลื่อนไหวริมฝีปาก แสดงว่าเด็กมีการตอบสนอง


วิธีการกระตุ้นการยิ้มส่งเสียงชอบเมื่อมีการพูดคุยด้วย

- ขณะเปลี่ยนผ้าอ้อม ป้อนอาหารเด็ก หรืออุ้มเด็ก พยายามพูดคุยกับเด็ก

- กระตุ้นให้เด็กยิ้มด้วยการสัมผัสที่ผิวหนัง เอว ของเด็ก

- เมื่อเด็กแสดงท่าทางยิ้ม พ่อ-แม่ ยิ้มตอบเด็ก ชมเชยเด็ก

- พ่อ - แม่ เล่นกับเด็ก ด้วยการสัมผัสเด็ก เช่น ชี้ที่แก้ม จมูกเด็ก พร้อมพูดคุยกับเด็กอาจทำเสียงต่างๆ เพื่อให้เด็กยิ้ม
อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.childthai.org/cic/c2458.htm
การกระตุ้นเด็กวัย3เดือนก็ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของผู้ปกครอง ในกรณีเด็กพิเศษด้วย แล้วต้องมีความอดทนในการดูแลเอาใจใส่เพราะเด็กในวัยนี้ต้องพยายามที่จะชันคอตั้งให้แข็งแรงที่สุดเร็วมากที่สุดเพื่อพัฒนาการลำดับต่อไป

วิธีการกระตุ้นพัฒนาการเด็กอายุ 6 เดือน

วิธีการกระตุ้นการนั่งทรงตัวเอง

-จับเด็กนั่งบนเก้าอี้ที่มีพนักพิงด้านหลังใช้สายรัดผูกเด็กติดกับพนักพิงด้านหลังเืพ่อพยุงเด็กไว้ไม่ให้ล้มอาจใช้หมอนรองข้างลำตัวของเด็กทั้งซ้าย-ขวา
-จับเด็กนั่งระหว่างเก้าอี้ที่ทำเป็นมุมฉาก ใช้สายรัดตัวเด็กด้านหลังของเด็กติดกับมุมฉากเพื่อช่วยพยุงตัว
-จับเด็กนั่งระหว่างขาของพ่อ-แม่ ซึ่งจัดท่าขัดสมาธิโดยพ่อ-แม่จับบริเวณด้านหลังและสะโพกของเด็กหากเด็กทรงตัวได้จับเด็กโน้มศีรษะและลำตัวไปด้านหน้า-หลัง ข้างซ้ายขวาเบา ๆ ช้า ๆ
-พ่อ-แม่ จับเด็กนั่งกับพื้น จัดเท้าเด็กให้ห่างออกไปคล้าย ๆ ท่านั่งสมาธิ พ่อ-แม่จับลำตัวเด็กก่อน จากนั้นเลื่อนมือลงมาจับที่สะโพกของเด็ก หากเด็กทรงตัวได้ ---จับเด็กให้โน้มศีรษะและลำตัวไปด้านหน้า-หลัง ซ้าย-ขวา เบา ๆ อย่างช้า ๆ
-จับเด็กนั่ง หากเด็กพอทรงตัวได้แล้ว จับเด็กนั่งท่าขัดสมาธิจับแขนทั้งสองข้างของเด็กยันพื้น เพื่อช่วยพยุงลำตัวของเด็ก
-หากเด็กทรงตัวได้แล้ว ลดการพยุงตัวเด็กลง ขระเดียวกันโยกศีรษะลำตัวเด็กไปทิศทางต่าง ๆ เช่น ด้านหน้า-หลัง ซ้าย-ขวา โดยเริ่มดยกเด็กเบา ๆ ก่อน จากนั้นจึงเ-พิ่มการโยกขนาดปานกลาง หากเด็กพอทรงตัวได้ให้เด็กเล่นของเล่นในท่านั่ง
.......................................................................
วิธีการกระตุ้นการคว้าจับแท่งไม้ไว้ในมือข้างละแท่น
-พ่อ-แม่ ใช้มือลูบด้านหลังมือของเด็ก เพื่อให้เด็กแบนิ้วออก จากนั้นนำของชิ้นโตขนาดพอควรสอดเข้าที่ฝ่ามือเด็ก กระตุ้นให้เด็กกำสิ่งของ หรือกำมือ พ่อ-แม่
วางวัตถุสิ่งของให้ห่างออกไป กระตุ้นให้เด็กเอื้อมมือจับวัตถุสิ่งของ หากเด็กไม่เอื้อม นำวัตถุเข้าใกล้เด็กพอเด็กเอื้อมถึง จากนั้นกระตุ้นเด็กให้เรียนรู้การเอื้อมมือจับวัตถุ
-นำของเล่นที่มีสีสัน ผูกไว้ที่เปลเด็กหรือด้านหน้าเด็กระยะพอที่เด้กจะเอื้อมถึงจากนั้น พ่อ-แม่ ผู้ปกครองเด็ก จับมือเด็กคว้าของเล่นที่อยู่ด้านหน้า
-พ่อ-แม่ นำแท่งไม้สีสด ๆ ให้เด็กมอง จากนั้นกระตุ้นให้เด็กคว้าแท่งไม้ไว้ในมือทีละข้าง หากเด็กกระทำไม่ได้ พ่อ-แม่ ผู้ปกครองเด็ก จับมือเด็กกระทำ หากเด็กทำได้ให้คำชมเชย โดยการยิ้ม ชมเด็ก ปรบมือให้เด็ก อาจจะให้รางวัลแก่เด็ก เพื่อกระตุ้นให้เด็กทำกิจกรรม่นั้น ๆ แต่หากเด็กทำได้ พ่อ-แม่ ผู้ปกครองลดการจับมือเด็กกระทำอาจจะเป็นการออกคำสั่งให้เด็กทำ
............................................................................................
วิธีการกระตุ้นให้สนใจฟังคนพูด และดูของเล่นอายุ
-ถือของเล่นที่มีสีสด ๆ เช่น แดง ตรงหน้าเด็กในระดับสายตา กระตุ้นให้เด็กมอง หากเด็กมองวัตถุหรือของเล่นแล้วเคลื่อนวัตถุของเล่นไปด้านซ้าย-ขวา ขึ้นลง
-ถือกระดิ่ง หรือวัตถุที่มีเสียง สั่นกระดิ่ง ตรงหน้าเด็กในระดับสายตา กระตุ้นให้เด็กมองแล้วเคลื่อนกระดิ่งไปด้านซ้าย-ขวา ขึ้น-ลง ตามวิธีการข้อที่ 1
-พ่อ-แม่ ผู้ปกครองเด็กพูดกับเด็กบ่อย ๆ เสมือนหนึ่งว่าเด็กรู้ภาษากับผู้ใหญ่ หากเด็กไม่ฟังขณะพูดอาจจะจับศรีษะเด็กเบา ๆ เพื่อให้เด็กสนใจและฟัง หากเด็กออกเสียง พ่อ-แม่ ผู้ปกครองเด้กควรออกเสียงเลียนแบบเด็ก เพื่อกระตุ้นทักษะด้านการฟังการพูดของเด็ก
-พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง พูดกับเด็กตรงด้านหน้าระดับสายตาของเด็ก พูดกับเด็กหรือพ่อ-แม่ เคลื่อนริมฝีปาก ท่าทาง อ้าปาก ห่อปาก แล้วออกเสียงกระตุ้นให้เด็ก มอง --ฟัง และเลียนแบบการเคลื่อนไหวริมฝีปาก โดยการกระทำซ้ำบ่อย ๆ หากเด็กมองแต่ไม่สามารถจะเคลื่อนไหว อวัยวะภายในปากพ่อ แม่ผู้ปกครองจับเด็กกระทำและลดการจับเด็กกระทำ อาจจะเป็นการออกคำสั่งให้เด็กทำ
......................................................................................
วิธีการกระตุ้นการเปล่งเสียงโต้ตอบผู้อื่น
-ขณะที่พ่อแม่ ผู้ปกครองเล่นกับเด็ก หรือขณะที่กำลังทำงาน ควรให้เสียงแก่เด็ก อาจจะเรียนชื่อเด็ก เพื่อกระตุ้นการฟัง ให้เด็กมั่นใจว่า พ่อ-แม่ ผู้ปกครองอยู่ใกล้เด็ก -พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง ยิ้มกับเด็ก เล่นกับเด็กเพื่อเด็กจะได้มีความสนุกสนาน
-พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง ออกเสียงสระให้เด็กฟัง แต่ละสระพูดหลาย ๆ ครั้ง ซ้ำ ๆ ให้เวลาและโอกาสเด็กพูดตาม
-พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง เคลื่อนไหวริมฝีปาก ออกเสียงสระ เช่น อ้าปาก ออกเสียง อา ห่อปาก ออกเสียง อู และทำท่ายิ้ม ออกเสียง อี นอกจากนั้นอาจจะเน้นเสียง ริมฝีปาก เช่น แม่ ริมฝีปากชิดกันก่อนจากนั้น อ้าปากพร้อมเปล่งเสียง ม. หรือเสียง แม่ กระตุ้นให้เด็กมอง แล้วเปล่งเสียงโต้ตอบผู้พูด เสียงแต่ละเสียงที่พูดกับเด็กควรซ้ำ ๆ กัน ประมาณ 3-4 ครั้ง แต่ละครั้งควรรอเวลาให้เด็กโต้ตอบเด็กอาจจะเคลื่อนไหวริมฝีปากของตนเอง เช่น อ้าปาก ห่อปาก ก็แสดงว่าเด็กมีการพัฒนา แม้ว่าเสียงระยะแรกเลียนแบบได้ไม่ถูกต้อง พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง อาจจะจับบริเวณริมฝีปากให้อ้าปากห่อริมฝีปาก เลียนแบบ หากเด็กเริ่มเลียนแบบได้ ลดการจับบริเวณริมฝีปากบอกเด็กให้กระทำเอง และให้คำชมเชยเด็ก
................................................................................
วิธีการกระตุ้นการจ้องมองหรือร้องไห้ เมื่อเห็นคนแปลกหน้าวิธีการกระตุ้น
-พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้มีโอกาสเล่นวัตถุอื่น ๆ อาจจะเป็นเล่นน้ำ เล่นดิน หรือสนามหญ้า เพื่อกระตุ้นการรับรู้หลาย ๆ ด้านแก่เด็ก
-พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง ควรเปิดโอกาสให้เด้กได้มีโอกาสได้พบกับบุคคลต่าง ๆ ในครอบครัว เช่น พี่ น้อง ปู่ ย่า ตา ยาย และบุคคลอื่น ๆ ในครอบครัว ไม่ใช่เพียงให้แม่อุ้มคนเดียว เช่นเดียวกันวิธีการอุ้มเด็ก พ่อ-แม่ ควรอุ้มเด็กให้หันด้านหน้า ออกจากอกแม่ (เอาด้านหลังของเด็กอยู่ด้านหน้าของแม่) เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กเห็นสิ่งที่แปลกใหม่
-พ่อ-แม่ นำเด็กออกเล่นข้างนอก กับเด็กรุ่นเดียวกันหรือเด็กอื่น ๆ แม้ว่าเด็กจะเล่นร่วมกลุ่มยังไม่ได้ก็ตามเพื่อให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ
-พ่อ-แม่ นำเด็กออกนอกบ้าน อาจจะเป็นสนามเด็กเล่น ให้โอกาสเด็กได้พบกับบุคคลมากหน้าหลายตา นอกจากสมาชิกภายในครอบครัว ระยะแรกอาจจะกลัวก็ตามหากเด็กลดการกลัว พ่อ-แม่ ผู้ปกครองควรให้รางวัล หรือชมเชยเด็ก
-หากเด็กเปล่งเสียงออกมาเอง ขณะกำลังเล่น พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง ควรเลียนแบบเสียงของเด็ก เพื่อกระตุ้นให้เด็กพูดบ่อย ๆ หากเด็กพูดออกเสียงได้แล้ว อาจจะเปลี่ยนการเปล่งเสียงเป็นเสียงอื่น ๆ
................................................................................................

อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.childthai.org/cic/c2462.htm

วิธีการกระตุ้นพัฒนาการเด็กอายุ 9 เดือน

วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อายุ 9 เดือน

ตอนนี้ลูกน้อยจะรู้สึกว่าตัวเองโตขึ้นแล้ว เริ่มมีความคิดเป็นของตนเอง และรู้จักการปฏิเสธมากขึ้นการส่งเสริมพัฒนาการ ด้านต่างๆควรปฏิบัติดังนี้ค่ะ

1. การส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายในช่วงนี้ เด็กจะยังคงทานน้ำนมเป็นอาหารหลัก ให้อาหารเสริมตามวัย
2 มื้อ จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ประมาณเดือนละ 0.5 กิโลกรัม ความสูงเพิ่มประมาณ 1.2 ซม. ต่อเดือน

2. การส่งเสริมพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว เด็กในช่วงนี้ จะเริ่มตั้งไข่และเกาะเดินได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมพัฒนาการ โดยการจูงมือลูกเดินเล่นบ่อยๆ
วางของเล่นไว้บนโซฟาให้ลูกเกาะเดินไปหยิบ หรืออาจจะให้ลูกหัดเดินเข้าหาในระยะใกล้ๆ ค่ะ ส่วนพัฒนาการในการใช้มือเด็ก จะเริ่มใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้จับของชิ้นเล็กๆ ได้ ใช้มือข้างหนึ่งถือของส่วนอีกมือทำอย่างอื่นได้ ควรส่งเสริม พัฒนาการโดยหัดให้ลูกจับช้อนส้อมเอง

3. การส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา เด็กจะสามารถพูดและเข้าใจคำสั้นๆได้เมื่ออายุประมาณ 1 ขวบ และเข้าใจการสื่อสารด้วยท่าทาง เช่น ส่งจูบ ชี้เมื่อต้องการ ส่ายหัวเมื่อไม่ต้องการ เป็นต้น ดังนั้นจึงควร ส่งเสริมด้วยการพูดคุยกับลูกบ่อยๆ และชี้ชวนให้ดูสิ่งต่างๆ รอบตัว

4. การส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม เด็กจะแสดงอาการพอใจด้วยการตบมือ เลียนแบบสีหน้า ท่าทางได้ ควร ส่งเสริมด้วยการเล่นจ๊ะเอ๋ หรือซ่อนของ ให้ลูกเล่นกับเด็กอื่น หรือพบปะผู้ใหญ่ที่ไม่คุ้นเคยบ้าง


อ้างอิงจาก http://www.childthai.org/cic/c2462.htm

วิธีการกระตุ้นพัฒนาการเด็กอายุ 12 เดือน

เด็กเดินได้คล่องแล้ว สนุกกับการเดินตามคุณไปทั่วบ้าน เลียนแบบทุกอย่างที่คุณทำ เขาใช้นิ้วมือได้ถนัดมากขึ้น จึงโปรดปรานของเล่นทุกอย่างที่ท้าทายการคว้าจับ ในช่วงวัยนี้ เขาพูดได้แล้ว และเข้าใจความหมายของคำเดือนและเรื่องราว เขาจะโปรดปรานการฟังนิทาน ของเล่นเด๋กวัยนี้อาจเป็นหนังสือ เลือกหนังสือที่ใช้เนื้อวัสดุต่างๆ กัน เด็กจะชอบดูภาพวาดสีสดใส กล่องดนตรีและเครื่องดนตรี เด็กจะโปรดปรานของเล่นที่ขยับแล้วส่งเสียงกรุ๋งกริ๋งได้ รถยนต์นานาชนิด รูปลักษณ์คล้ายจริง อาจทำจากยางหรือไม้ หยิบภาพลงช่อง ชิ้นภาพที่จะนำลงช่อง ควรจะมีปุ่มให้เด็กจับได้ง่าย เลือกเฉพาะรูปขนาดใหญ่ อุปกรณ์วาดเขียน ตอบสนองความอยากวาดรูปและหัดเขียนตัวอักษรของเด็ก ของเล่นซ้อนเป็นชั้น เล่นสนุก วางซ้อนกันเป็นชั้น หรือจะแยกออกมาเป็นภาชนะบรรจุของเล่นอื่นก็ได้ ของเล่นเรียงซ้อน วงแหวนหรือแท่งไม้กระตุ้นทักษะในการใช้มือและการมองภาพ ของเล่นลากเลื่อน อาจจะมีเชือกผูกให้ลาก หรือมีปุ่มให้จับผลัก รถเข็นที่ใช้บรรทุกของ ส่วนกิจกรรมและเกม เกมการเคลื่อนไหวง่ายๆ เช่น เกมนับนิ้ว เกมปรบมือ เกมเล่นซ่อนหา การเล่นสนุกจะช่วยเผาผลาญพลังงานส่วนเกินของเด็ก

ฟังเพลงสบายๆ ได้ที่นี่นะคะ

ขอมอบความรักให้กับทุกท่าน:

บทเพลงที่ท่านจะได้รับฟัง, รับชม เป็นไฟล์นามสกุล AVI มีคุณภาพเสียงพอใช้ แต่มีข้อบกพร่องในการแสดงผลของภาพผ่านเว็บไซต์ ทำให้ไม่สามารถรับชมภาพได้ (ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ) และทางเราจะรีบแก้ไขโดยเร็วค่ะ



Love song






Lover Concerto






The River






Jazzy






Love me